รายละเอียดครูภูมิปัญญาไทย

ครูภูมิปัญญาไทย

นายวินัย สะมะอุน

ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี

ปรัชญา ศาสนา และประเพณี

ผลงาน

องค์ความรู้ ครูวินัย สะมะอุน หรืออาจารย์มัธวาน สะมะอุน ได้ใช้ปรัชญาและหลักการของศาสนาอิสลาม โดยการถอดความจากคัมภีร์อัลกุรอานและหะดีษมาเผยแพร่ให้พี่น้องมุสลิมให้เกิดความศรัทธา (อีมาน) การปฏิบัติ (อิสลาม) และคุณธรรม จริยธรรม (เอี๊ยะห์ซาน) มาบูรณาการให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับนโยบายของทางราชการทุกยุคทุกสมัยได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้เกิดประโยชน์ในด้านนโยบาย การพัฒนาท้องถิ่น กิจกรรมด้านศาสนา การเมือง สังคม และวัฒนธรรมเป็นที่ยอมรับของศาสนาอิสลามและศาสนาอื่น ๆ โดยทั่วไปได้ใช้ความรู้ความสามารถถ่ายทอดต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ครูวินัย มีความเชี่ยวชาญในด้านปรัชญา และศาสนาอิสลาม องค์ความรู้ที่สำคัญได้แก่ • ศาสนาอิสลาม มีความเชี่ยวชาญในการอธิบายหลักธรรมของศาสนาอิสลามได้กระจ่างชัดเจน • ภาษาอาหรับ มีความเชี่ยวชาญในการแปลภาษาอาหรับในคัมภีร์อัลกูรอานจำนวน ๓๐ บท (ยุช) ถอดความเป็นภาษาไทยและอธิบายตาม ทำให้ผู้รับการถ่ายทอดเข้าใจในบทบัญญัติของศาสนาอิสลามเป็นอย่างดียิ่ง • การบริหาร และการจัดการมัสยิด:ในฐานะอิหม่ามมัสยิดกมาลุ้ลอิสลาม โดยมัสชิดฯ ได้รับการย่กย่องเป็นศาสนสถานที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมที่ดีแห่งหนึ่ง ผลงานโดดเด่น ครูวินัย มีความรู้ความเข้าใจคัมภีร์อัล-กุรอานได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งอัล-กุรอาน เป็นคัมภีร์ภาษาอาหรับประกอบด้วย ๖๖๖๖ อายะห์ (ตอน) ๓๐ ยุช (บท) เป็นธรรมนูญชีวิตของมุสลิม มุสลิมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในข้อบัญญัติของศาสนาอิสลาม การอธิบายจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถอดความหมายให้ตรงกับคำรากศัพท์ และใช้คำในภาษาที่แทนความหมายของรากศัพท์ของคำเหล่านั้น ในประเทศไทยมีบุคคลที่สามารถแปล อัล-กุรอาน เป็นภาษาไทยได้ มีเพียง ๕ – ๖ ท่าน ได้แก่ อาจารย์ดิเรก กุลศิริสวัสดิ์, อาจารย์ต่วน สุวรรณศาสตร์ (อดีตจุฬาราชมนตรี เสียชีวิตแล้ว) อาจารย์วินัย สะมะอุน, อาจาราย์ซากีรีน บุญมาเลิศ, อาจารย์บรรจง บินกาซัน และ ๑ ในจำนวน นั้นคือครูวินัยรวมอยู่ด้วย นับเป็นบุคคลที่มีความสำคัญคนหนึ่งในการแปลและอธิบายคัมภีร์อัล-กูรอานทำให้มุสลิมเกิดความเข้าใจและนำมาปฏิบัติ จึงเป็นเกียรติประวัติของชาวมุสลิมของประเทศไทย

ที่อยู่

๔๐ ซอยประชาร่วมใจ ๑๔ ตำบลทรายกองดินใต้ อำเภอเขตคลองสามวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร ไปรษณีย์ 10510

<< ย้อนกลับ