รายละเอียดครูภูมิปัญญาไทย

นายประพันธ์ บุญเมือง
ด้านภาษาและวรรณกรรม
ภาษาและวรรณกรรม
ผลงาน
องค์ความรู้ ครูประพันธ์ บุญเมืองมีองค์ความรู้ ดนตรีพื้นเมืองหลายชนิด อาทิ สะล้อ ซอ ซึงครูประพันธ์ บุญเมือง มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ดังนี้ • ภาษาบาลี ภาษาล้านนา • การเขียนตำราภาษาล้านนา เกี่ยวกับประวัติบ้านพระเนตรห้วยโป่ง และหลักภาษาล้านนา ซึ่งโรงเรียนในภาคเหนือได้ใช้เป็นตำราสอนภาษาล้านนาในโรงเรียน • มีความรู้ด้านพิธีกรรมต่างๆ ของล้านนาเป็นอย่างดี แม้ในปัจจุบันเมื่อมีงานเทศกาล ที่ต้องมีพิธีกรรมต่าง ๆ ครูประพันธ์มักจะได้รับเกียรติให้เป็นผู้ทำพิธี เนื่องจากมีความรู้ทั้งสาระและภาษาล้านนาอย่างลึกซึ้ง ผลงานโดดเด่น ๑. แต่งตำราวิชา “หลักภาษาล้านนา” จัดทำเป็นรูปเล่ม มีเอกสารใบลาน อ้างอิง ทั้งอักษร ล้านนา อักษรไทย และมีบาลี สันสกฤต เป็นหลักประกอบของบรรณานุกรม ๒. สัมภาษณ์เก็บข้อมูล สอบถาม ผู้รู้ ผู้สูงอายุ ที่เคยแต้มเขียนอักษรล้านนาลงใน ใบลาน ตลอดจนผู้รู้นักปราชญ์ ด้านอักษรล้านนาในภาคเหนือ เช่น ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี คณะมนุษยศาสตร์ จากหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๓. จัดทำตาราง ผันเสียง วรรณยุกต์ อักษรล้านนาขึ้น โดยไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน เมื่อเทียบกับอักษรไทยกลาง ๔. นำอักษรล้านนา เปิดสอนในโรงเรียนมัธยม เป็นวิชาเลือกเสรี ทั้ง ม.ต้น และ ม.ปลาย รวมถึงวรรณกรรมล้านนาชนิดต่างๆ หลายวิชา เป็นเวลา ๓๐ ปี จนเกษียณอายุราชการ ๕. จัดทำเอกสารวิชาภาษาล้านนา เผยแพร่ให้โรงเรียนต่างๆในภาคเหนือ ตอนบน เช่น เชียงราย แพร่ นาน ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ ฯลฯ ๖. ค้นคว้าประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านและชุมชน โดยจัดทำ ประวัติเป็นรูปเล่ม ขนาดหนา ๑๐๐ หน้า ๗. รวบรวมสุภาษิต สำนวนล้านนา เข้าเป็นรูปเล่ม ส่วนนักเรียน ๘. รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านเข้าเป็นรูปเล่ม เช่น คำสู่ขวัญควาย คำสู่ขวัญคน ตำราสมุนไพร ค่าวฮ่ำจากชุมชน ๙. รวบรวมวรรณกรรมทางพุทธศาสนา เช่น คำอาราธนาธรรมมหาชาติ ชาดกแบบล้านนา ๑ กัณฑ์ ให้พระสงฆ์นายกใช้กับงานวัด ๑๐. จัดรายการสถานีวิทยุ ประกวดค่าวฮ่ำ เชิญชวนประชาชน ส่งเข้าประกวดทางสถานีวิทยุเม็งกาโต เรดิโอ เป็นเวลา ๙ ปี
ที่อยู่
๓๕ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ไปรษณีย์ ๕๗๓๔๐