รายละเอียดครูภูมิปัญญาไทย

นายกิตติทัต ศรวงศ์
ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
การแกะรูปหนังตะลุง
ผลงาน
องค์ความรู้ วิธีการร่างรูปแบบตัวหนังตะลุง การตอก การแกะ และการระบายสี รูปหน้าบท เจ้าเมือง นางเมือง ฤาษี ยักษ์ และเทวดา และรูปกาก (ตัวตลกแบบต่าง ๆ) ทั้งวิธีการแกะรูปหนังตะลุงแบบโบราณและแบบปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบัน จุดเด่นของครูกิตติทัต รูปแบบการแกะรูปหนังตะลุงยังยึดหลักแนวทางการทำหนังตะลุงตามโครงสร้างเดิม กล่าวคือ เน้นการให้ความรู้และต่อยอดความรู้ หรือดัดแปลงวิธีการให้สอดคล้องกับยุคสมัยมากกว่าที่จะเน้นในเชิงธุรกิจ การแสดงหนังตะลุง การเล่นเครื่องดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์การแสดงหนังตะลุงและการแกะรูปหนังตะลุง จึงได้สร้างแหล่งการเรียนรู้ “หอศิลป์หนังตะลุง” ขึ้น ณ บ้านเลขที่ ๑๒๒ หมู่ที่ ๔ ถนนเพชรเกษม ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง รหัสไปรษณีย์ ๙๓๐๐๐ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้สำหรับผู้สนใจเรียนรู้ทั่วไป ผลงานโดดเด่น เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการแกะตัวหนังตะลุง ทั้งรูปแบบโบราณ และรูปแบบที่ปรับประยุกต์ให้สอดคล้องทันสมัย ด้วยความสนใจรูปแบบและเทคนิคการแกะหนังตัวตะลุงของสายช่างแกะตัวหนังตะลุงทั่วภาคใต้ ครูกิตติทัต สามารถแยกแยะความแตกต่างในการวางลายและการแกะตัวหนังตะลุงได้ชัดเจน และด้วยความรักและหวงแหนใศิลปะการแสดงพื้นบ้านหนังตะลุง ครูกิตติทัตจึงได้จัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ หอศิลป์หนังตะลุง” ขึ้น เพื่อ เผยแพร่ สืบทอดเรื่องราวทุก อย่างที่เกี่ยวข้องกับหนังตะลุง ให้แก่ผู้สนใจ
ที่อยู่
ศูนย์การเรียนรู้หอศิลป์หนังตะลุง 122 หมู่ที่ 4 ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ไปรษณีย์ 93000